วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สายสัญญาณ

สายสัญญาณ

สายโคแอกเชียล คืออะไร


                                              
    
สายโคแอ็กเชียล
               สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบ เครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่
               สายโคแอกเชียล มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" โครงสร้างของสาย
ประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่น โลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ

รูปที่ 28 สายโคแอกเชียล
               ส่วนแกนเป็นส่วนที่นำสัญญาณข้อมูล ส่วนชั้นใยข่ายเป็นชั้นที่ใช้ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดิน ในตัว ดังนั้นสองส่วนนี้ต้องไม่เชื่อมต่อกันมิฉะนั้นอาจเกิดไฟช็อตได้ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็
สามารถแบ่งสายโคแอ็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
               1. สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnet Cable) เป็น
สายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้ กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลัง ลง บริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ใน สายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น
               2. สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thicknet Cable) เป็นสายโคแอ็กซ์ที่ค่อนข้าง แข็ง และขนาดใหญ่กว่าสายโคแอ็กซ์แบบบาง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.27 cm สายโคแอ็กซ์แบบหนานี้เป็นสาย
สัญญาณประเภทแรกที่ใช้กับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต ส่วนแกนกลางที่เป็นสายทองแดงของสายโคแอ็กซ์แบบหนาจะมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นสายโคแอ็กซ์แบบหนานี้จึงสามารถนำ สัญญาณ ได้ไกลกว่าแบบบาง โดยสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 500 เมตร ด้วยความสามารถนี้สายโคแอ็กซ์แบบหนาจึงนิยมใช้ ในการเชื่อมต่อเส้นทางหลักของข้อมูล หรือ แบ็คโบน (Backbone) ของเครือข่ายสมัยแรก ๆ แต่ปัจจุบันได้เลิกใช้สายโคแอ็กซ์
แล้ว โดยสายที่นิยมใช้ทำเป็นแบ็คโบน คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในส่วนต่อไป

หัวเชื่อมต่อที่ใช้กับสายโคแอ็กเชียล
               ทั้งสายแบบบางและแบบหนา จะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกัน ที่เรียกว่าหัว BNC ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสายสัญ ญาณและเน็ตเวิร์คการ์ด หัวเชื่อมต่อแบบ BNC นี้มีหลายแบบได้แก่ หัวเชื่อมสาย BNC หัวเชื่อมสายรูปตัว T หัวเชื่อมสายแบบ Barrel และตัวสิ้นสุดสัญญาณ
 
สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบ เครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่
               สายโคแอกเชียล มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" โครงสร้างของสาย
ประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่น โลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ

รูปที่ 28 สายโคแอกเชียล
               ส่วนแกนเป็นส่วนที่นำสัญญาณข้อมูล ส่วนชั้นใยข่ายเป็นชั้นที่ใช้ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดิน ในตัว ดังนั้นสองส่วนนี้ต้องไม่เชื่อมต่อกันมิฉะนั้นอาจเกิดไฟช็อตได้ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็
สามารถแบ่งสายโคแอ็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
               1. สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnet Cable) เป็น
สายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้ กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลัง ลง บริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ใน สายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น
               2. สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thicknet Cable) เป็นสายโคแอ็กซ์ที่ค่อนข้าง แข็ง และขนาดใหญ่กว่าสายโคแอ็กซ์แบบบาง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.27 cm สายโคแอ็กซ์แบบหนานี้เป็นสาย
สัญญาณประเภทแรกที่ใช้กับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต ส่วนแกนกลางที่เป็นสายทองแดงของสายโคแอ็กซ์แบบหนาจะมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นสายโคแอ็กซ์แบบหนานี้จึงสามารถนำ สัญญาณ ได้ไกลกว่าแบบบาง โดยสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 500 เมตร ด้วยความสามารถนี้สายโคแอ็กซ์แบบหนาจึงนิยมใช้ ในการเชื่อมต่อเส้นทางหลักของข้อมูล หรือ แบ็คโบน (Backbone) ของเครือข่ายสมัยแรก ๆ แต่ปัจจุบันได้เลิกใช้สายโคแอ็กซ์
แล้ว โดยสายที่นิยมใช้ทำเป็นแบ็คโบน คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในส่วนต่อไป

หัวเชื่อมต่อที่ใช้กับสายโคแอ็กเชียล
               ทั้งสายแบบบางและแบบหนา จะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกัน ที่เรียกว่าหัว BNC ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสายสัญ ญาณและเน็ตเวิร์คการ์ด หัวเชื่อมต่อแบบ BNC นี้มีหลายแบบได้แก่ หัวเชื่อมสาย BNC หัวเชื่อมสายรูปตัว T หัวเชื่อมสายแบบ Barrel และตัวสิ้นสุดสัญญาณ
สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบ เครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่
               สายโคแอกเชียล มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" โครงสร้างของสาย
ประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่น โลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ

รูปที่ 28 สายโคแอกเชียล
               ส่วนแกนเป็นส่วนที่นำสัญญาณข้อมูล ส่วนชั้นใยข่ายเป็นชั้นที่ใช้ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดิน ในตัว ดังนั้นสองส่วนนี้ต้องไม่เชื่อมต่อกันมิฉะนั้นอาจเกิดไฟช็อตได้ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็
สามารถแบ่งสายโคแอ็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
               1. สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnet Cable) เป็น
สายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้ กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลัง ลง บริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ใน สายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น
               2. สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thicknet Cable) เป็นสายโคแอ็กซ์ที่ค่อนข้าง แข็ง และขนาดใหญ่กว่าสายโคแอ็กซ์แบบบาง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.27 cm สายโคแอ็กซ์แบบหนานี้เป็นสาย
สัญญาณประเภทแรกที่ใช้กับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต ส่วนแกนกลางที่เป็นสายทองแดงของสายโคแอ็กซ์แบบหนาจะมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นสายโคแอ็กซ์แบบหนานี้จึงสามารถนำ สัญญาณ ได้ไกลกว่าแบบบาง โดยสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 500 เมตร ด้วยความสามารถนี้สายโคแอ็กซ์แบบหนาจึงนิยมใช้ ในการเชื่อมต่อเส้นทางหลักของข้อมูล หรือ แบ็คโบน (Backbone) ของเครือข่ายสมัยแรก ๆ แต่ปัจจุบันได้เลิกใช้สายโคแอ็กซ์
แล้ว โดยสายที่นิยมใช้ทำเป็นแบ็คโบน คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในส่วนต่อไป

หัวเชื่อมต่อที่ใช้กับสายโคแอ็กเชียล
               ทั้งสายแบบบางและแบบหนา จะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกัน ที่เรียกว่าหัว BNC ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสายสัญ ญาณและเน็ตเวิร์คการ์ด หัวเชื่อมต่อแบบ BNC นี้มีหลายแบบได้แก่ หัวเชื่อมสาย BNC หัวเชื่อมสายรูปตัว T หัวเชื่อมสายแบบ Barrel และตัวสิ้นสุดสัญญาณ
สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบ เครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่
               สายโคแอกเชียล มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" โครงสร้างของสาย
ประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่น โลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ

รูปที่ 28 สายโคแอกเชียล
               ส่วนแกนเป็นส่วนที่นำสัญญาณข้อมูล ส่วนชั้นใยข่ายเป็นชั้นที่ใช้ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดิน ในตัว ดังนั้นสองส่วนนี้ต้องไม่เชื่อมต่อกันมิฉะนั้นอาจเกิดไฟช็อตได้ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็
สามารถแบ่งสายโคแอ็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
               1. สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnet Cable) เป็น
สายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้ กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลัง ลง บริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ใน สายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น
               2. สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thicknet Cable) เป็นสายโคแอ็กซ์ที่ค่อนข้าง แข็ง และขนาดใหญ่กว่าสายโคแอ็กซ์แบบบาง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.27 cm สายโคแอ็กซ์แบบหนานี้เป็นสาย
สัญญาณประเภทแรกที่ใช้กับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต ส่วนแกนกลางที่เป็นสายทองแดงของสายโคแอ็กซ์แบบหนาจะมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นสายโคแอ็กซ์แบบหนานี้จึงสามารถนำ สัญญาณ ได้ไกลกว่าแบบบาง โดยสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 500 เมตร ด้วยความสามารถนี้สายโคแอ็กซ์แบบหนาจึงนิยมใช้ ในการเชื่อมต่อเส้นทางหลักของข้อมูล หรือ แบ็คโบน (Backbone) ของเครือข่ายสมัยแรก ๆ แต่ปัจจุบันได้เลิกใช้สายโคแอ็กซ์
แล้ว โดยสายที่นิยมใช้ทำเป็นแบ็คโบน คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในส่วนต่อไป

หัวเชื่อมต่อที่ใช้กับสายโคแอ็กเชียล
               ทั้งสายแบบบางและแบบหนา จะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกัน ที่เรียกว่าหัว BNC ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสายสัญ ญาณและเน็ตเวิร์คการ์ด หัวเชื่อมต่อแบบ BNC นี้มีหลายแบบได้แก่ หัวเชื่อมสาย BNC หัวเชื่อมสายรูปตัว T หัวเชื่อมสายแบบ Barrel และตัวสิ้นสุดสัญญาณ

สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากาศ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด 75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปีย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก และนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่องโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน


ที่มา http://it.benchama.ac.th/ebook/


สายคู่บิดเกลียว คือ



สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs)














สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) เมื่อก่อนเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นมาตรฐานสายสัญญาณที่เชื่อมต่อในเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) สายคู่บิดเกลียวหนึ่งคู่ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.016-0.035 นิ้ว หุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียวเป็นคู่ การบิดเป็นเกลียวของสายแต่ละคู่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รบกวนซึ่งกันและกัน สายคู่เกลียวบิดที่มีขายในท้องตลาดมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งสายสัญญาณอาจประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวตั้งแต่หนึ่งคู่ไปจนถึง 600 คู่ในสายขนาดใหญ สายคู่บิดเกลียวที่ใช้กับเครือข่าย LAN จะประกอบด้วย 4 คู่ สายคู่บิดเกลียวที่ใช้ในเครือข่ายแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ - STP (Shielded Twisted Pairs) หรือสายคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวน - UTP (Unshielded Twisted Pairs) หรือสายคู่บิดเกลียวไม่หุ้มฉนวนShielded Twisted Pairs (STP) สายคู่บิดเกลียวแบบมีส่วนป้องกันสัญญาณรบกวน หรือ STP (Shielded Twisted Pairs) มีส่วนที่เพิ่มขึ้นมาคือ ส่วนที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ซึ่งชั้นป้องกันนี้อาจเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หรือใยโลหะที่ถักเปียเป็นตาข่าย ซึ่งชี้นป้องกันนี้จะห่อหุ้มสายคู่บิดเกลียวทั้งหมด ซึ่งจุดประสงค์ของการเพิ่มขั้นห่อหุ้มนี้เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุจากแหล่งต่าง ๆ

Unshielded Twisted Pairs (UTP) สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีส่วนป้องกันสัญญารรบกวนหรือ UTP (Unshielded Twisted Pairs) เป็นสายสัญญาณที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่าสาย UTP เป็นสายสัญญาณที่นิยมใช้กันมากที่สุดในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ซึ่งการใช้สายนี้ความยาวต้องไมเกิน 100 เมตร

คุณสมบัติพิเศษของสายคู่บิดเกลียว การใช้สายคู่บิดเกลียวในการรบส่งสัญญาณนั้นจำเป็นต้องใช้สายหนึ่งคู่ในการส่งสัญญาณ และอีกหนึ่งคู่ในการรับสัญญาณ ซึ่งในแต่ละคู่สายจะมีทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ในการทำเช่นนี้เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า "Differential Signaling" ซึ่งเทคนิคนี้คิดค้นขึ้นมาเพื่อจะกำจัดคลื่นรบกวน (Electromagnetic Noise) ที่เกิดกับสัญญาณข้อมูล ซึ่งคลื่นรบกวนนี้เกิดขึ้นได้ง่าย และเมื่อเกิดขึ้นกับสายสัญญาณแล้วจะทำให้สัญญาณข้อมูลยากต่อการอ่านหรือแปลความหมายมาตรฐานสายสัญญาณ สมาคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EIA (Electronics Industries Association) และสมาคมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ TIA (Telecommunication Industries Association) ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน EIA/TIA 568 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการผลิตสาย UTP โดยมาตรฐานนี้ได้แบ่งประเภทของสายออกเป็นหลายประเภทโดยแต่ละประเภทเรียกว่า Category N โดย N คือหมายเลขที่บอกประเภท ส่วนสถาบันมาตรฐานนานาชาติ (International Organization for Standardization) ได้กำหนดมาตรฐานนี้เช่นกัน โดยจะเรียกสายแต่ละประเภทเป็น Class A-F คุณสมบัติทั่วไปของสายแต่ละประเภท



สายไฟเบอร์ออฟติค คืออะไร

Fiber Optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับสายแลนทั่วๆ ไป (CAT5, CAT5e, CAT6, CAT7 เป็นต้น)?Fiber Optic เรียกเป็นภาษาไทยว่า "เส้นใยแก้วนำแสง"

                                       



คุณสมบัติของ Fiber Optic

  • Fiber Optic ภายในทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก
  • มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่าเส้นผมของคนเรา
  • รับส่งสัญญาณได้ระยะไกลมากเป็นกิโลเมตร
  • ต้องใช้ผู้ชำนาญ และเครื่องมือเฉพาะในการเข้าหัวสัญญาณ
  • ราคาแพงหลายเท่า เมื่อเทียบกับสายแลนประเภท CAT5

Fiber Optic แบ่งออกได้ 2 ประเภท

  • เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM)
  • เส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)

การนำไปใช้งานของ Fiber Optic

  • ตึกสูงๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ทำเป็น Backbone (สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก)
  • ระบบการรับส่งสัญญาณภาพ วีดีโอ ตามพื้นที่ต่างๆ
  • การเชื่อมต่อสัญญาณระยะไกล
  • และอื่นๆ อีกมากมาย
ที่มา http://www.it-guides.com/
                                                     

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ

อุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ


Hub คือ
 
          Hub (ฮับ) หรือบางทีก็เรียกว่า "รีพีตเตอร์ (Repeater)" คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้
          การที่อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ตสามารถทำงานได้ที่ความเร็ว 2 ระดับ เช่น 10/100 Mbps นั้น ก็เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องนั้นมีฟังก์ชันที่สามารถเช็คได้ว่าอุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อกับ Hub นั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดเท่าใด และอุปกรณ์นั้นก็จะเลือกอัตราข้อมูลสูงสุดที่รองรับทั้งสองฝั่ง ฟังก์ชันนี้จะเรียกว่า "การเจรจาอัตโนมัติ (Auto-Negotiation)" ส่วนใหญ่ Hub หรือ Switch ที่ผลิตจะมีฟังก์ชันนี้อยู่ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอีเธอร์เน็ตที่ความเร็วต่างกันได้ ถ้ามีอุปกรณ์เครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับ Hub และแต่ละโหนดสามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราที่ต่างกัน Hub ก็จะเลือกอัตราส่งข้อมูลที่อัตราความเร็วต่ำสุด เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้จัออยู่ในคอลลิชันโดเมน (Collision Domain) เดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่่ 10 Mbps ส่วน LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์ที่เหลือสามารถรับส่งข้อมูลได้ 10/100 Mbps แล้วคอมพิวเตอร์เหล่านี้เชื่อมต่อเข้ากับ Hub เดียวกันที่รองรับอัตราความเร็วที่ 10/100 Mbps เครือข่ายนี้ก็จะทำงานที่ความเร็ว 10 Mbps เท่านั้น แต่ถ้าเป็น Switch อัตราความเร็วจะขึ้นอยู่กับความเร็วของคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก Switch จะแยกคอลลิชันโดเมน
 
ที่มา http://www.dstd.mi.th/
 
 
 
Swich คือ
 
Switch (สวิตซ์) คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ใสเลเยอร์ที่ 2 Switch บางทีก็เรียกว่า Switching Hub (สวิตชิ่งฮับ) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์) เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ในช่วงแรกนั้น เพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า Switch เพราะหมายถึง บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง
          Switch จะฉลาดกว่า Hub คือ Switch สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกัน และกันได้ในเวลาเดียวกัน การทำเช่นนี้ทำให้อัตราการส่งข้อมูล หรือแบนด์วิธไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Switch คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิธเท่ากับแบนด์วิธของ Switch

          ด้วยข้อดีนี้เครือข่ายที่ติดตั้งใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมใช้ Switch มากกว่า Hub เพราะจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย
 
ที่มา  http://www.dstd.mi.th/
 
 
Gateway คือ
 
                                     
 
   Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch
 
ที่มา http://www.com5dow.com/
 
 
 
Modem คือ
 
Modem (โมเด็ม)

โมเด็มมาจากคำว่า MOdulator/DEModulator โดยแยกการทำงานออกเป็น Modulation คือการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณอะนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ และ Demodulation คือการเปลี่ยนจากสัญญาณอะนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอะนาลอกอยู่ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้าของ โทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kbps ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยู่ที่ 14.4 Kb. เท่านั้น

มาตรฐานโมเด็ม


V. 22 โมเด็มความเร็ว 1,200 bps
V. 22bis โมเด็มความเร็ว 2,400 bps
V. 32 โมเด็มความเร็ว 4,800 และ 9,600 bps
V. 32bis โมเด็มความเร็วตั้งแต่ 4,800 7,200 9,600 และ 14,400 bps
V. 32turbo พัฒนามาจาก V. 32bis อีกทีโดยมีความเร็ว 19,200 bps และสนับสนุนการบีบอัดข้อมูล
V. 34 ความเร็ว 28,800 bps
V. 34bis เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันอยู่ช่วงหนึ่ง ความเร็ว 33,600 bps ปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่
V. 42 เกี่ยวกับการทำ Error Correction ในโมเด็ม ช่วยให้โมเด็มเชื่อมต่อเสถียรมากยิ่งขึ้น
V. 90 เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ความเร็วอยู่ที่ 56,000 bps
V. 44 พัฒนามาจาก V. 42 และพัฒนาการบีบอัดข้อมูลจาก 4:1 เป็น 6:1
V. 92 เพิ่มคุณสมบัติการทำงานกับชุมสายแบบ Call Waiting หรือสายเรียกซ้อน


สามารถแบ่งการใช้งานออกได้เป็น 3 อย่างคือ


1. Internal
2. External
3. PCMCIA

Internal Modem

Internal Modem เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือPCI ข้อดีก็คือ ไม่เปลืองเนื้อที่ ราคาไม่แพงมากนัก ใช้ไฟเลี้ยงจาก Mainboard ข้อเสียคือ ติดตั้งยากกว่าแบบภายนอก เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง เคลื่อนย้ายได้ไมสะดวกยาก ใช้ได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้
Internal Modem

External Modem

External Modem เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกโดยจะต่อกับ Serial Port โดยใช้หัวต่อที่เป็น DB-25 หรือ DB-9 ต่อกับ Com1, Com2 หรือ USB ข้อดีคือ สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ ติดตั้งได้ง่าย ไม่เพิ่มความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก สามารถใช้ งานกับเครื่อง NoteBook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม ข้อเสีย มีราคาค่อนข้างสูง เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย ในการเลือกใช้จึงต้องดูหลายประการเช่น ความสะดวกในการใช้งาน คอมพิวเตอร์ เป็นรุ่นเก่า ก็ควรใช้แบบ internal และหากมีแต่ Slot ISA ก็ต้องเลือกแบบ ISA Internal หากต้องการเคลื่อนย้ายไปใช้กับ เครื่องอื่นอยู่เรื่อยก็ต้องใช้แบบภายนอก หากให้สะดวกก็ควรเป็น แบบ Internal ครับจะได้ความไวที่ โดยมากจะสูงกว่าแบบภายนอก มีปัจจัยหลายอย่างในการเลือกต้องดูด้วยว่า ISP (Internet Service Provider) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่คุณใช้นั้นรองรับ มาตรฐาน V.90 ข้อเสียของโมเด็มรุ่นใหม่ ๆ ที่มีราคาถูกที่เป็น Internal PCI คือผู้ผลิดเขาจะตัดชิพที่ ทำหน้าที่ ตรวจสอบความผิดพลาด แก้ไขสัญญาณรบกวน (Error Correction) ที่มีมาก ในสายโทรศัพท์ในบางที่ แล้วไปใช้ความสามารถของซีพียูมาทำหน้าที่นี้แทน ทำให้เกิดการใช้ งานซีพียูเพิ่มมากขึ้นทำให้ความเร็วของ เครื่องลดลง หรือสัญญาณโทรศัพท์อาจตัดหรือ เรียกว่าสายหลุดได้ สำหรับคุณสมบัติ ที่ควรมีของโมเด็มคือ DSVD ที่ทำให้โมเด็มสามารถส่งผ่าน ข้อมูล Voice และ Data ได้ในขณะเดียวกันได้โดยความ เร็วไม่ลดลง และดูสิ่งที่ให้มาด้วยเช่น ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ รวมทั้งดูว่าสามารถใช้อ่านอื่น ๆ ได้เช่น Fax, Voice, Mail และ Call ID เป็นต้น
External Modem

PCMCIA

เป็น Card ที่ใช้งานเฉพาะ โดยใช้กับ Notebook เป็น Card เสียบเข้าไปในช่องสำหรับเสียบ Card โดยเฉพาะสะดวกในการพกพา ในปัจจุบัน Modem สำหรับ Notebook จะติดมาพร้อมกันอยู่แล้วทำให้ความนิยมในการใช้ Card Modem ชนิดนี้ลดน้อยลง

ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการใช้โมเด็มในการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต มีดังนี้

1. คุณภาพของสายทองแดง ระยะทางยาว การต่อสาย หรือหัวต่อต่าง ๆ ทำให้มีปัญหาต่อสัญญาณรบกวน
2. ไม่ควรใช้สายพ่วง เพราะการพ่วงสายจะทำให้อิมพีแดนซ์ของสายลดต่ำลง และจะมีปัญหาได้ขณะใช้งานถ้ามีคนยกหูโทรศัพท์เครื่องพ่วงสายจะหลุดทันที
3. ต้องไม่เปิดบริการเสริมใด ๆ สำหรับสายที่ใช้โมเด็ม เช่น เปิดให้มีสายเรียกซ้อน การรับสัญญาณอื่นขณะใช้โมเด็มจะทำให้การเชื่อมโยงหยุดทันที
4. หากชุมสายที่บ้านเชื่อมอยู่ต้องผ่านหลายชุมสาย หรือต้องผ่านระหว่างเครือข่ายของบริษัทบริการโทรศัพท์
5. คุณภาพของโมเด็มที่ใช้ ปัจจุบันมีโมเด็มที่ผลิตหลากหลาย และมีคุณภาพแตกต่างกัน การแปลงสัญญาณอาจมีข้อแตกต่าง
 
 
 
Router คือ
 
    Router คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route ก็คือ ถนน นั่นเอง ดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Router นั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานเรียกว่า Internetwork Operating System (IOS) และตัว Router จะมีช่องที่ใช้เสียบต่อสายสัญญาณเรียกว่า Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว

Router คืออะไร เราเตอร์ คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครืออย่างหนึ่ง
   
     หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง

Router คืออะไร เราเตอร์ คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครืออย่างหนึ่ง

คุณสมบัติของ Router 
1.ทำหน้าที่คล้าย Swich ทำให้เชื่อมต่อได้หลายเครื่องพร้อมกัน
2.บางรุ่นรองรับการทำงาน Wire หรือ Wireless
3.เป็น ADSL Modem ในตัว (เฉพาะบางรุ่นเท่านั้น)
4.Firewall /IPsec VPN (รองรับการเชื่อมต่อทางไกลแบบมี security)
5.Antivirus (รุ่นใหม่ๆ ของ Router บางรุ่น จะมี antivirus program ฝังอยู่ด้วย)
 
 
ที่มา http://www.mindphp.com/
 
 
Bridge คือ


เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งดูแล้วคล้ายกับเป็นสะพานเชื่อมสองฟากฝั่งเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกอุปกรณ์นี้ว่า “ บริดจ์” ซึ่งแปลว่าสะพาน
เครือข่ายสองเครือข่ายที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องเป็นเครือข่ายชนิดเดียวกัน และใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน เช่น ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายตามมาตรฐานอีเทอร์เน็ตสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือต่อ Token Ring สองเครือข่ายเข้าด้วยกัน
บริดจ์ช่วยลดปริมาณข้อมูลบนสาย LAN ได้บ้าง โดยบริดจ์จะแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อย และกรองข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อส่งต่อให้กับเครือข่ายย่อยที่ถูกต้องได้ หลักการทำงานของบริดจ์จะพิจารณาจากหมายเลขของเครื่องหรือ Media Access Control address (MAC address) ซึ่งเป็นที่อยู่ที่ฝังมาในฮาร์ดแวร์ของการ์ด LAN แต่ละการ์ด ซึ่งจะไม่ซ้ำกัน แต่ละหมายเลขจะมีเพียงการ์ดเดียวในโลก
บริดจ์จะมีการทำงานในระดับชั้นที่ 2 คือ Data Link Layer ของ โมเดล OSI คือ มองข้อมูลที่รับส่งกันเป็น packet แล้วเท่านั้น โดยไม่สนใจโปรโตคอลที่ใช้สื่อสาร บริดจ์จะตรวจสอบข้อมูลที่ส่งโดยพิจารณาจากที่อยู่ของผู้รับปลายทาง ถ้าพบว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากของเครือข่ายก็จะขยายสัญญาณ (เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์) แล้วจึงค่อยส่งต่อให้ แต่จะไม่สนใจว่าการส่งให้ถึงเครื่องปลายทางจะใช้เส้นทางใด
การติดตั้งบริดจ์จะคล้ายกับการติดตั้ง Hub ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับแต่งค่าต่างๆ ที่มีอยู่ สามารถต่อใช้งานได้ทันที แต่ก็อาจจะกำหนดตัวแปรของค่าที่ใช้ควบคุมบริดจ์ได้ถ้าต้องการ ซึ่งไม่ยากมากนัก ผู้ดูแลเครือข่ายขนาดเล็กๆ ก็สามารถทำเองได้ ในปัจจุบันระบบเครือข่ายเริ่มนิยมใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า สวิตช์ (switch) ซึ่งทำงานในลักษณะเดียวกับบริดจ์นั่นเอง



Repeater คือ
                


                                 



1) ในเครือข่ายระบบโทรคมนาคม repeater เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) หรือ Optical transmission เพื่อขยายสัญญาณแล้วส่งต่อไปยังขาต่อไปของตัวกลม Repeater เหนือกว่า attenuation เนื่องจากปราศจากผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการสูญเสียในสายส่ง ชุดของ Repeater ทำให้มีความเป็นไปได้ในการขยายสัญญาตลอดระยะทาง Repeater ใช้เซกเมนต์ในการติดต่อภายในของ LAN เพื่อใช้ในการเพิ่มและขยายการส่งของเครือข่ายแบบ WAN บนสายหรือไร้สาย
ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสัญญาณ repeater สามารถขจัด "noise" หรือสัญญาณที่ไม่ต้องการ ซึ่งทำได้ในระบบดิจิตอล ในขณะที่สัญญาณแบบอะนาล็อก ใช้การเพิ่มความเข้มแข็งโดยการขยายความสูงคลื่น จึงมีโอกาสที่ทำให้การขยายส่วนของ "Noise" เช่นเดียวกับสารสนเทศ สัญญาณแบบดิจิตอลขึ้นกับการมาหรือไม่มาของความต่างศักย์ ทำให้การกระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าสัญญาณแบบอะนาล็อก
ในระบบสายส่ง repeater เป็นสิ่งธรรมดา ประกอบด้วยวงจรขยาย และคู่ของตัวแปลงสัญญาณ impedance ของสายต้องจับคู่ได้กับการนำเข้าและการส่งออกของ วงจรขยายเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การจับคู่ของ impedance จะลดผลสะท้อนของสัญญาณตลอดสาย
ในระบบการสื่อสารแบบไร้สาย repeater ประกอบด้วยวิทยุรับ ตัวขยาย, transmitter, isolator และเสาอากาศ 2 ชุด transmitter จะผลิตสัญญาณบนความถี่ที่ต่างจากสัญญารับ ที่เรียกว่า frequency offset เพื่อป้องกันความเข้มแข็งของสัญญาณ isolator จะเพิ่มการป้องกัน repeater ถ้าอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม เช่น บนอาคารสูง ภูเขา เพื่อความสามารถในการทำงานของเครือข่ายแบบไร้สาย โดยทำให้การสื่อสารมีความกว้างขวางขึ้น
ในระบบเครือข่ายแบบ Fiber optic repeater ประกอบด้วย Photocell ตัวขยาย light-emitting diode (LED) หรือ infrared-emitting diode (IRED) สำหรับแสงหรือสัญญาณ IR ที่ต้องการขยาย repeater ของ fiber optic ทำงานที่ระดับพลังงานที่ต่ำกว่าระบบไร้สาย ทำให้ง่ายกว่าและถูกกว่า แต่การการแบบต้องคำนึงถึงการลด "Noise"
        2) Bus repeater เป็นการเชื่อม bus ของคอมพิวเตอร์กับ bus ในคอมพิวเตอร์ตัวอื่น

ที่มา http://www.com5dow.com




การ์ดเครือข่าย

การ์ดเครือข่าย คือ

การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC: Network Interface Card)
       การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย หรือเรียกว่าการ์ด LAN เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซี เข้ากับสายเคเบิล ดังนั้นจึงต้องมีพอร์ตสำหรับเสียบสายแบบใดแบบหนึ่งที่จะใช้ หรืออาจมีพอร์ตสำหรับสายหลายแบบก็ได้ เช่น มีพอร์ตสำหรับสายโคแอกเชียล และสำหรับสายคู่ตีเกลียว แต่สำหรับการ์ดรุ่นใหม่ๆ มักจะเหลือแต่พอร์ตสำหรับสายคู่ตีเกลียวเพราะปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม นอกจากนี้ยังมีการ์ดที่ทำมาสำหรับใช้ต่อกับสายใยแก้วนำแสงซึงมักจะมีราคาแพงและใช้เฉพาะบางงาน
       การ์ด LAN จะมีสล็อตที่ใช้อยู่ 2 ชนิดคือ
       ISA 8 และ 16 บิต การ์ดแบบนี้จะสามารถรับส่งข้อมูลกับเครื่องพีซีได้ทีละ 8 หรือ 16 บิตที่ความถี่ประมาณ 8 MHz เท่านั้น โดยผ่านบัสและสล็อตแบบ ISA ตัวอย่างเช่น การ์ด NE1000 และ NE2000 ที่ผลิตตามแบบของบริษัท Novell เป็นต้น ซึ่งความเร็วในการทำงานจะต่ำกว่าแบบ PCI ซึ่งในปัจจุบันแทบจะไม่พบแล้ว
       PCI 32 บิต เป็นการ์ดที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ทีละ 32 บิตผ่านบัสแบบ PCI ด้วยความเร็วสูงถึง 33 MHz ปัจจุบันการ์ดแบบสล็อต PCI ราคาลดลงมาก
       ทรานซีฟเวอร์ (transceiver) เป็นส่วนหนึ่งของการ์ด LAN โดยจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณของคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณที่ใช้ในเครือข่าย ทรานซีฟเวอร์รุ่นเก่า ๆ จะเชื่อมต่อกับสายเคเบิลและการ์ด LAN แต่ในปัจจุบันจะนำทรานซีฟเวอร์นี้บรรจุเข้าไปในตัวการ์ด LAN เลย
       บนการ์ด LAN บางแบบจะมีที่เสียบชิปหน่วยความจำ ROM เป็นซ็อคเก็ตว่าง ๆ ทิ้งไว้ สำหรับใช้ในกรณีที่ต้องการให้เครื่องที่ใช้การ์ดนั้นสามารถบูตจากหน่วยความจำของเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ในระบบ LAN ได้ ซึ่งก็จะต้องมี ROM ที่มีโปรแกรมพิเศษมาใส่ในซ็อคเก็ตว่างนี้ เรียกว่าเป็น bootROM โดยโปรแกรมใน ROM ดังกล่าวจะอยู่ในตำแหน่งแอดเดรสที่ซีพียูจะเรียกใช้ในตอนที่บูตเครื่อง เช่นเดียวกับ ROM บนเมนบอร์ดนั่นเอง เมื่อมีโปรแกรมดังกล่าวเพิ่มเข้ามา ก็จะทำให้ซีพียูไปทำการบูตเครื่องผ่านการ์ด LAN และหน่วยความจำของเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ แทนที่จะบูตจากหน่วยความจำของเครื่องนั้น ๆ ตามปกติ เช่น ในกรณีที่ต้องการใช้งานพีซีนั้นในลักษณะเครื่องลูกข่ายที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
Note
Wake-On-Lan (WOL) เป็นคุณสมบัติที่ทำให้เครื่องที่อยู่ในสภาพ standby หรือ sleep อยู่สามารถตื่น (wake up) ขึ้นมาได้เมื่อมีสัญญาณเข้ามาทางการ์ด LAN ซึ่งคล้ายกับ wake-on-modem ที่พอมีสัญญาณโทรศัพท์เข้ามาทางโมเด็มก็จะปลุกให้เครื่องตื่นขึ้นมาทำงานต่อได้ ทำให้สามารถปล่อยให้เครื่องที่ต่อกับ LAN อยู่สามารถเปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา ซึ่งเครื่องจะเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานเมื่อไม่มีใครใช้ และจะตื่นกลับขึ้นมาทำงานทันทีที่มีผู้ติดต่อผ่าน LAN เข้ามา ทั้งนี้การ์ด LAN โดยทั่วไปจะต้องมีสายสัญญาณพิเศษสำหรับทำหน้าที่นี้มาให้ โดยเสียบเข้าที่คอนเน็คเตอร์เล็ก ๆ บนเมนบอร์ด (มักอยู่ข้างสล็อตที่เสียบการ์ด LAN นั่นเอง) ถ้าไม่เสียบ คุณสมบัตินี้ก็จะไม่ทำงาน

ที่มา http://www3.ipst.ac.th/